จากความหลากหลายของแหล่งที่การผลิต การก้าวข้ามปัญหา ไปจนถึงเพิ่มความสวยงามให้ตัวกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์ การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้โดยตรงที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสูงนักหรือสลับซับซ้อนนัก การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในอนาคต
– เซลล์แสงอาทิตย์ให้ความเย็น เซลล์แสงอาทิตย์สามารถมีอุณหภูมิได้สูงถึง 55 องศาเซลเซียสเมื่อรังสีของดวงอาทิตย์นั้นสาดส่องลงมา ซึ่งอุณหภูมิเหล่านั้นไม่เพียงแต่ลดประสิทธิภาพในการแปลงพลังงาน แต่ยังลดอายุการใช้งานอีกด้วย
– พลังงานแสงอาทิตย์บนวิวทิวทัศน์ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ของเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถประกอบลงบนวัสดุโปร่งใสเพื่อการผลิตพลังงานโดยที่ไม่บดบังวิวทิวทัศน์ได้ ซึ่งโดยทั่วไปนั้นเซลล์แสงอาทิตย์จะเป็นแบบมีสีเพื่อการดูดซับพลังงานให้ได้ดีที่สุด แต่การคิดค้นแบบโปร่งใส่จะสร้างความหลากหลายมากขึ้น
– แผงเซลล์แสงอาทิตย์จากแบตเตอรี่รถยนต์ใช้แล้ว เป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน โดยนำตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่ามาผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อให้พลังงานได้
– เซลล์แสงอาทิตย์แบบมีสีและกึ่งโปร่งใส่ สามารถนำไปเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ปรับใช้ยังตัวอาคารและหน้าต่างเพื่อการดักจับพลังงานได้
– แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ไม่มีวันสูญเสียโฟกัส ซึ่งสามารถโฟกัสและดักจับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการผลิตไฟฟ้าได้ ระบบติดตามของพลังงานแสงอาทิตย์เข้มข้นนั้นสามารถเปลี่ยนการสะท้อนโดยขึ้นอยู่กับทิศทางของแสงอาทิตย์ที่มุ่งตรงมา เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนระบบติดตามก็เคลื่อนตามอัตโนมัติ ซึ่งเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบกระจกและเลนส์ซึ่งต้องมีการเคลื่อนตามแสงอาทิตย์ ระบบติดตามแสงอาทิตย์นี้จึงให้ประโยชน์ทั้งการเพิ่มพลังงานจากแสงอาทิตย์ และเป็นการลดต้นทุนทางด้านพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย
ปัจจุบันการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ จำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และการผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย คือ การใช้เซลล์อาทิตย์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้การมองหาพลังงานทดแทนจากธรรมชาติเป็นที่สนใจ จะเห็นได้ว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์สามารถให้พลังงานทดแทนได้ในหลายๆ ด้าน