การพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีโลจิสติกส์

ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันจากตลาดภายในและภายนอกประเทศอันเป็นผลมาจากการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆและความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้น โดยประสบกับปัญหาการขาดประสิทธิภาพของระบบการดำเนินงานในส่วนต่างๆ ทำให้การจัดส่งสินค้าและบริการไปถึงมือลูกค้าเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว ธุรกิจในประเทศไทยจึงต้องการแนวทางใหม่ในการบริหารงานเพื่อให้สามารถที่จะจัดหาทรัพยากรที่เป็นองค์ประกอบทางการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อการใช้งาน รวมทั้งสามารถกระจายสินค้าไปถึงมือลูกค้าให้ได้มากที่สุด

เทคโนโลยีโลจิสติกส์มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศทางด้านต้นทุน

ความสามารถเชิงแข่งขัน คุณภาพ ระบบสารสนเทศระบบสื่อสารร่วมกับฮารด์แวร์ที่เกี่ยวข้องที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการโซ่อุปทานจะช่วยในหลายบทบาทด้วยกัน อาจจะช่วยเหลือกระบวนการตัดสินใจ ช่วยปฏิบัติการติดตามควบคุมจัดเก็บและประมาลผลข้อมูล และช่วยเหลือในการสื่อสารระหว่างบุคคล บริษัท และ เครื่องจักร เป็นระบบจัดการโซ่อุปทานโดยทั่วไปแล้วจะเป็นเครื่องมือสนับสนุนและวางแผนปฏิบัติการระบบเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทวางแผนและจัดการปฏิบัติการลอจิสติ์กสผ่านทางการใช้ชุดซอฟท์แวร์ที่บูรณาการอยู่ทั่วทั้งระบบ ซึ่งช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ในทางโลจิสติกส์เทคโนโลยีก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากจนถือว่าเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดตัวหนึ่งในการแข่งขัน นักโลจิสติกส์ต้องรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ การคิดทบทวนให้ครบถ้วนถึงสาเหตุหลักของปัญหา และที่สำคัญต้องสอดคล้องกับเงินทุนที่มีอยู่ โดยต้องไม่ลืมที่จะพัฒนาบุคลากรควบคู่กันไปด้วย

ความจำเป็นในการพัฒนาและปรับปรุงโลจิสติกส์ทั้งด้านการผลิตบุคลากร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง และในอนาคตอันใกล้นี้โลจิสติกส์จะเป็นตัวจักรสำคัญของภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างแน่นอน เนื่องจากรัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และได้กำหนดให้โลจิสติกส์เป็นประเด็นหลักของประเทศ เพื่อเป็นการบริหารจัดการข้อมูลและสินค้าตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง เป็นการวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับโลจิสติกส์  ศึกษาหลักการแก้ปัญหาและอภิปรายของโลจิสติกส์ สำหรับการวางแผนและการประสานความรู้ในแขนงต่างๆมาใช้ในการแก้ ปัญหาและวางแผน โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายโดยเน้นการเลือกกลยุทธ์ทางธุรกิจ การวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของระบบโลจิสติกส์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ